การถ่ายภาพแบบเอฟเฟ็กต์ที่ได้จากเลนส์มุมกว้าง

เลนส์มุมกว้างคืออะไร

สิ่งหนึ่งที่ช่างภาพมักบ่นให้ได้ยินอยู่เสมอคือ ความยากในการใช้งานเลนส์มุมกว้าง

โดยทั่วไปเลนส์มุมกว้างมีทางยาวโฟกัส (แบบ Full Frame) เทียบเท่ากับ 35 มม. หรือน้อยกว่า ส่วนเลนส์มุมกว้างที่มีทางยาวโฟกัสเท่ากับ 24 มม. หรือน้อยกว่าบางครั้งเรียกว่าเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ สำหรับกล้อง DSLR ขนาด APS-C เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสที่ประมาณ 24 มม. หรือน้อยกว่าถือว่าเป็นเลนส์มุมกว้าง ในขณะที่เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสที่ 16 มม. หรือน้อยกว่าถือว่าเป็นเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์

สำหรับผู้ที่มองว่าเลนส์มุมกว้างใช้งานยาก คุณมักได้ยินพวกเขาบอกว่าความยากอยู่ที่การจัดองค์ประกอบภาพ เนื่องจากวัตถุจำนวนมากจะเข้าไปอยู่ในพื้นที่รับภาพได้ อย่างไรก็ดี ผมคิดว่านั่นอาจเป็นเพราะพวกเขานำเลนส์มุมกว้างไปเปรียบเทียบกับเลนส์ที่ถ่ายภาพในบริเวณกว้างซึ่งนั่นเป็นเพียงลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งของเลนส์มุมกว้างเท่านั้น

คุณสมบัติเด่นที่สำคัญอีกข้อหนึ่งของเลนส์มุมกว้างคือ เอฟเฟ็กต์ความบิดเบี้ยวเปอร์สเปคทีฟที่เป็นแบบฉบับเฉพาะ ซึ่งทำให้ขนาดพื้นที่และระยะห่างระหว่างวัตถุและกล้องปรากฏขึ้นเกินจริง เป็นผลให้วัตถุที่อยู่ใกล้ดูใกล้มากขึ้นและมีขนาดใหญ่ขึ้น และวัตถุที่อยู่ไกลดูมีขนาดเล็กลงและอยู่ห่างมากขึ้น และเมื่อคุณสามารถฝึกฝนใช้งานคุณสมบัติเด่นของการขยายมุมมองเปอร์สเปคทีฟเกินจริงนี้จนชำนาญแล้ว คุณอาจจะรู้สึกทึ่งกับจุดเด่นของเลนส์มุมกว้างนี้ก็เป็นได้

สำหรับเลนส์มุมกว้าง เส้นทุกเส้นจะมาบรรจบกันที่จุดใดจุดหนึ่ง

เพื่อให้เข้าใจการขยายมุมมองเปอร์สเปคทีฟเกินจริงได้ดียิ่งขึ้น คุณจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับมุมมองการถ่ายภาพเสียก่อน อย่างไรก็ดี หากคุณใช้งานเลนส์มุมกว้างเพื่อถ่ายภาพ คุณไม่จำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเลนส์ในรายละเอียดตั้งแต่เริ่มถ่ายภาพก็ได้ แต่สิ่งแรกที่ควรระมัดระวังคือ จุดที่เส้นต่างๆ ในภาพจะมาบรรจบกัน ตัวอย่างเช่น ในภาพด้านล่าง ผมลองถ่ายภาพทางเดินในตัวอาคารธรรมดาๆ ด้วยเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ (FL: 16 มม.) คุณจะเห็นได้ว่าเส้นต่างๆ มาบรรจบกันในลักษณะที่ทำให้บริเวณปลายสุดของทางเดินเลือนหายไปในบริเวณกึ่งกลางภาพ

กฎ 2 ข้อที่่ช่วยให้ใช้คุณสมบัติเด่นของเลนส์มุมกว้างได้อย่างสะดวกสบาย

เมื่อใช้เลนส์มุมกว้างเส้นต่างๆ จะมาบรรจบกันที่ตรงจุดใดจุดที่เส้นมาบรรจบกันนี้บางครั้งเรียกว่า “จุดรวมสายตา” ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากภาพทางเดินในอาคาร ซึ่งเส้นต่างๆ มาบรรจบกันที่จุดเดียวบริเวณกึ่งกลางภาพ

อย่างไรก็ตาม จุดที่เส้นมาบรรจบกัน (หรือจุดรวมสายตา) ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่บริเวณกึ่งกลางภาพเท่านั้น ยังอาจเกิดขึ้นทางด้านซ้ายหรือขวาหรือกระทั่งภายนอกภาพก็ได้ แม้จะเป็นเช่นนั้น ก็ไม่มีความจำเป็นที่คุณจะคิดว่านั่นเป็นเรื่องที่ซับซ้อน เพราะสิ่งที่คุณต้องพิจารณาเมื่อเริ่มถ่ายภาพคือแนวทางสองข้อดังต่อไปนี้เท่านั้น

เราลองมาดูตัวอย่างของแนวทางแต่ละข้อเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติเด่นของเลนส์มุมกว้างกัน

เมื่อตัวแบบปรากฏขึ้นจากด้านล่าง

 

 

เมื่อตัวแบบปรากฏขึ้นจากด้านซ้าย

 

เมื่อตัวแบบปรากฏขึ้นจากมุมภาพ

แบบที่ปรากฏขึ้นจากด้านล่างของภาพจะมาบรรจบกันที่ด้านบน หากปรากฏขึ้นจากด้านซ้าย จะมาบรรจบกันทางด้านขวา ในทำนองเดียวกัน ตัวแบบที่ปรากฏขึ้นจากมุมใดมุมหนึ่งของภาพก็จะไปบรรจบกันที่อีกมุมหนึ่งของภาพ

EOS 5D Mark II/ EF24-105mm f/4L IS USM/ f/8/ 1/800/ ISO 200

 

หากใช้ภาพนี้เป็นตัวอย่าง เราจะเห็นว่าหอคอยนี้ “ดีดตัว” สูงขึ้นไปจากด้านล่างของภาพ ดังนั้นเส้นจึงไปบรรจบกันที่ด้านบนของภาพ บางคนอาจกำลังคิดว่า “นั่นเห็นได้ชัดอยู่แล้วนี่” แต่โดยปกตินั่นจะไม่ใช่สิ่งที่เราคิดเมื่อมองผ่านช่องมองภาพ แทนที่เมื่อคุณมองตัวแบบผ่านช่องมองภาพจะสังเกตแค่ว่าตัวแบบบรรจบกันหรือไม่ คุณควรคิดถึงวิธีวางตำแหน่งตัวแบบให้อยู่ในจุดที่ต้องการเพื่อทำให้มาบรรจบกันไม่ดีกว่าหรือ

ถัดมา รถไฟที่อยู่ในภาพถ่ายด้านล่างปรากฏขึ้นจากมุมซ้ายของภาพ ดังนั้น เส้นจึงไปบรรจบกันที่มุมขวา

EOS 5D Mark III/ EF16-35mm f/2.8L USM/ f/5.6/ 1/320/ ISO 3200

2. การบรรจบกันทำให้วัตถุที่อยู่ตรงขอบภาพดูมีขนาดใหญ่ขึ้น ขณะที่วัตถุที่อยู่ตรงกึ่งกลางภาพดูมีขนาดเล็กลง

ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่ทราบเกี่ยวกับแนวทางแรกมาแล้วแต่อาจไม่เคยนึกถึงมาก่อน แล้วแนวทางถัดไปล่ะ เมื่อใช้เลนส์มุมกว้าง วัตถุที่อยู่ตรงขอบภาพจะดูมีขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องมาจากการขยายมุมมองเปอร์สเปคทีฟเกินจริง ขณะที่วัตถุที่อยู่กึ่งกลางจะไม่ได้รับกระทบดังกล่าว

วัตถุที่อยู่ตรงขอบภาพจะบรรจบเข้าหากันมากขึ้น ขณะที่วัตถุที่อยู่บริเวณกึ่งกลางภาพจะบรรจบเข้าหากันน้อยลง

วัตถุที่อยู่ตรงขอบภาพจะบรรจบเข้าหากันมากขึ้น

วัตถุที่อยู่บริเวณกึ่งกลางภาพจะบรรจบเข้าหากันน้อยลง

ตัวอย่างเช่น ภาพนี้ถ่ายท่ามกลางตึกสูงระฟ้าที่แมนฮัตตัน เนื่องจากผมถ่ายภาพนี้ขณะมองขึ้นจากบริเวณใกล้เคียง ตึกจึงปรากฏขึ้นจากด้านล่างของภาพ ดังนั้น การมองจากล่างขึ้นบนจะให้เอฟเฟ็กต์การขยายมุมมองเปอร์สเปคทีฟที่เกินจริงอย่างเห็นได้ชัด ภาพนี้จึงเป็นภาพที่บ่งบอกอย่างชัดเจนว่าเป็น “มุมกว้าง!”

EOS 5D Mark III/ EF16-35mm f/2.8L USM/ f/16/ 1/125/ ISO 500

ในทางกลับกัน ภาพถัดไปเป็นภาพแมนฮัตตันที่ถ่ายจากระยะไกลเหนือผืนน้ำ แม้ว่าจะเป็นตึกเดียวกันก็ตาม เอฟเฟ็กต์การขยายมุมมองเปอร์สเปคทีฟที่เกินจริงยังไม่เด่นชัดเท่าไหร่นัก เนื่องจากตึกระฟ้าต่างๆ อยู่ใกล้กับบริเวณกึ่งกลางภาพ

อย่างไรก็ดี หากเราพิจารณาให้ละเอียดจะพบว่าทะเลและท้องฟ้าในโฟร์กราวด์จะอยู่ที่ขอบด้านบนและด้านล่างของภาพ และเอฟเฟ็กต์การขยายมุมมองเปอร์สเปคทีฟที่เกินจริงค่อนข้างเห็นได้ชัดพอสมควร

หากเป็นทรรศนะของคนที่มีความรู้ความเข้าใจดีเกี่ยวกับมุมมองการถ่ายภาพ นี่ดูเหมือนจะเป็นแนวทางที่เต็มไปด้วยข้อยกเว้นต่างๆ อย่างไรก็ดี หากในช่วงเวลานี้คุณสามารถจัดองค์ประกอบภาพพร้อมกับทำความเข้าใจถึงแนวทางสองข้อนี้เป็นอย่างดี คุณจะไม่มีอะไรต้องกลัวเกี่ยวกับคุณสมบัติเด่นของเลนส์มุมกว้างอีกต่อไป

เลนส์ที่ผมใช้ถ่ายภาพนี้คือ EF16-35mm f/2.8L II USM ผมรักเลนส์ตัวนี้เนื่องจากให้ลำแสงสวยงามจากดวงอาทิตย์หรือแสงไฟตามถนนในภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืนเมื่อผมใช้รูรับแสงที่แคบลง และเนื่องจากเลนส์ชนิดนี้จะสว่างแม้ขณะใช้ค่ารูรับแสงกว้างสุด ดังนั้นจึงสามารถใช้เพื่อถ่ายภาพดวงดาวได้อีกด้วย

อ้างอิง https://snapshot.canon-asia.com/article/th/exploring-wide-angle-lenses-part-1-photo-effects-of-wide-angle-lenses