การแพนกล้อง

เทคนิคการแพนกล้อง 1. ให้ปรับใช้จุดโฟกัสแบบจุดเดียว โดยให้เลือกจุดกึ่งกลาง เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการโฟกัส เทคนิคการแพนกล้อง ทำภาพให้ดูเหมือนเคลื่อนไหว อย่างมือโปร 2. ให้ปรับโหมดการถ่ายภาพไปที่ M และให้ตั้งความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆ ประมาณ 1/15 – 1/125 วินาที ไม่ตายตัว ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับ ความเร็วของวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่ เช่น ถ้าวัตถุเคลื่อนที่เร็วก็ให้ปรับสปีดชัตเตอร์เร็วตาม จึงจะสามารถภาพให้ชัดได้  ปรับค่า ISO ประมาณ 100-400 ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพของแสงในต้อนนั้นด้วย ให้วัดแสงและลองถ่ายภาพบริเวณนั้นก่อน เพื่อให้ได้แสงที่เหมาะสม ถ้าสว่างเกินไปก็ปรับรูรับแสงลดลง ถ้ามืดเกินก็ปรับรูรับแสงให้กว้างขึ้น เมื่อได้ค่ารูรับแสง ISO และสปีดชัตเตอร์ที่แน่นอนแล้ว ก็ไม่ต้องปรับอะไรอีกแล้ว
3. กรณีใครมีเลนส์ที่มีระบบกันสั่นที่สามารถปรับโหมดได้ ให้ท่านปรับเลือกที่ โหมด 2 ซึ่งโหมดนี้ระบบกันสั่นของกล้องจะรู้ว่าเราหมุนกล้องเพื่อจะแพนกล้อง ส่วนใครไม่มีแบบปรับได้ก็ให้ปิดระบบกันสั่นไปเลย ให้ปิดทั้งในตัวกล้องและบนเลนส์
4. เมื่อวัตถุวิ่งเข้ามาไกล้กับกล้องให้เราเล็งกล้องและโฟกัสไปที่วัตถนั้นๆ โดยการกดชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง ทันทีที่กล้องจับโฟกัสได้แล้วให้กดชัตเตอร์ลงจนสุดและกดค้างไว้ พร้อมกับค่อยๆ หมุนกล้อง หรือแพนกล้องตามแนวการเคลื่อนที่ของวัตถุนั้นไป
5. เมื่อม่านชัตเตอร์ปิด อย่าเพิ่งปล่อยปุ่มชัตเตอร์ ให้กดค้างไว้ก่อนและหมุนกล้องต่อไปอีกนิด
Tips : เทคนิคการแพนกล้อง ต้องใช้การฝึกฝน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับมือใหม่ แนะนำให้ลองถ่ายบ่อยๆ และถ่ายวัตถุที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น คนวิ่ง คนเดิน รถวิ่ง นกบิน เป็นต้น เมื่อเราถ่ายจนชำนาญแล้วเราจะจับจังหวะได้เอง และจะรู้ว่าวัตถุวิ่งด้วยความเร็วเท่านี้ต้องใช้สปีดชัตเตอร์เท่าใด เพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจน
 อ้างอิง http://camerastips.com/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87.html