ความรู้เรื่องกล้องฟิล์ม

การถ่ายภาพพื้นฐาน

     Shutter (ชัตเตอร์) คือส่วนที่ปิดแสงที่เข้าจาก Lens ก่อนตกกระทบฟิล์ม หรือตัวเซ็นเซอร์ในกล้องDigital
ชัตเตอร์มีความเร็วหลายแบบ แล้วแต่กล้อง โดยปกติแล้ว จะไล่เรียงประมาณนี้ s ย่อมาจาก Second หรือวินาที
B, 30s, 15s, 8s, 4s, 2s, 1s, 1/2s, 1/4s, 1/8s, 1/15s, 1/30s, 1/60s, 1/125s, 1/250s, 1/500s, 1/1000s, 1/2000s, etc.
ช่วงห่างแต่ละช่วงความเร็ว เราเรียกหน่วยของมันว่า Stop (สต็อป) หลายกล้องจะมีหน่วยย่อยๆ กว่านี้ ก็จะเป็นเศษส่วนของ Stop ครับ
B ย่อมาจาก Bulb เป็นความสามารถที่จะเปิด Shutter ค้างไว้ นานจนกว่าเราจะพอใจ แล้วค่อยปล่อยปุ่ม
ส่วนค่าตัวเลขที่เหลือ ก็เป็นความเร็วเรียงจากช้าไปเร็ว ตั้งแต่ 30 วินาที ไปจนถึง 1 ส่วน 2000 วินาที หรือเร็วได้มากกว่านั้นในกล้องอีกหลายๆ รุ่น

  • รูรับแสง (Aperture) เป็นอีกส่วนสำคัญของการถ่ายภาพ เพราะส่งผลหลายอย่างให้กับภาพ รายละเอียดจะมาเขียนในบทต่อๆ ไป

    รูรับแสง ก็มักจะมีหลายค่า เช่น 1.4, 2.8, 4, 5.6, 8, 11, 16, 22, etc.

    ช่วงห่างแต่ละช่วง นับเป็น Stop เช่นกัน ส่วนรูรับแสงนี้ มักจะขึ้นอยู่กับความสามารถของเลนส์ ว่าตัวนี้ รูรับแสงกว้างสุดที่ 2.8 ตัวนี้กว้างสุดที่ 4

    แล้วเรามักจะเรียกมันในอีกชื่อว่า F-Stop ครับ

    • ISO หรือค่าความไวแสงของฟิล์ม ในกล้อง D-SLR ที่ไม่ได้ใช้ Film แล้ว แต่ก็ยังมีค่า ISO อยู่ครับ

    ค่า ISO ก็จะแตกต่างกันประมาณนี้

    25, 50, 100, 200, 400, 800, 1600, 3200, etc.

    ช่วงห่างของ ISO เราก็นับเป็น Stop เหมือนกัน ถึงแม้จะไม่ได้ใช้ฟิล์มแล้ว แต่ค่า ISO ก็ยังมีผลต่อภาพถ่ายเช่นกัน

ในกล้องถ่ายภาพบางรุ่นจะมีระบบปรับค่าความไวแสงเองโดยอัตโนมัติโดยตัวกล้องจะมีปุ่มสำหรับอ่านค่า
ความไวแสงจากรหัสที่กลักฟิล์มดังนั้นเวลาจับกลักฟิล์มต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาดของมือเพราะอาจจะทำ ให้รหัสของฟิล์มมีรอยหรือมีคราบสกปรกจะทำให้การวัดแสงผิดพลาดไปด้วย

      

      วิธีการถ่ายภาพ

            1 การปรับระยะชัด (Fucusing)

สิ่งที่สำคัญในการถ่ายภาพ คือการปรับระยะชัดหรือระยะโฟกัสจะช่วยให้ภาพที่ได้มีความคมชัด สำหรับกล้อง 35 มม. สะท้อนเลนส์เดี่ยวสามารถมองผ่านช่องมองภาพได้ โดยปรับความคมชัดจากวงแหวน ปรับระยะชัดที่เลนส์ โดยภาพที่ปรากฏผ่านช่องมองภาพจะเป็นภาพจริง ดังนั้นผู้ถ่ายภาพควร ต้องคำนึงถึง วัตถุที่ต้องการเน้นให้มีความชัดเจนมากที่สุด ที่กระบอกเลนส์จะมีค่าแสดงตัวเลขบอก ระยะทางจากตัวกล้อง ไปจนถึงวัตถุที่ปรับระยะชัด ช่วงระยะในการชัดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของรูรับแสง ยิ่งแคบมากยิ่งทำ    ให้ ระยะชัดลึกมากขึ้นเท่านั้น แต่ถ้าเปิดรูรับแสงกว้างมากต้องระวังการปรับระยะชัดให้ดีเพราะช่วงชัดลึก    จะสั้น หรือเลนส์ยิ่งมีความยาวโฟกัสมากเท่าใดความชัดลึกย่อมมีน้อยตามไปด้วย ดังนั้นผู้ใช้ต้องทำความ      เข้าใจ ในเรื่องนี้และฝึกการปรับระยะชัดให้แม่นยำและรวดเร็ว

ในปัจจุบันกล้องบางรุ่นจะมีระบบปรับความชัดอัตโนมัติ (Auto focus) ซึ่งต้องศึกษาการใช้งาน จากคู่มือของกล้องรุ่นนั้นให้ดี เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการถ่ายภาพ

         3.2 การกำหนดความเร็วชัตเตอร์

การกำหนดความเร็วชัตเตอร์เป็นความจำเป็นอีกประการหนึ่งในการถ่ายภาพ เพราะจะเป็น ตัวกำหนดช่วงเวลาในการรับแสงของฟิล์ม ซึ่งที่ตัวกล้องจะมีตัวเลขแสดงค่าความเร็วชัตเตอร์เป็นจำนวน      เต็ม เช่น B 1 2 4 8 15 30 60 125 250 500 1000 เป็นต้น แต่ความ เป็นจริงแล้ว 1 หมายถึง กล้องจะเปิดม่านชัตเตอร์ให้แสงกระทบกับฟิล์มเป็นเวลา 1 วินาที 2 หมายถึง1/2 วินาที ไปจนถึง 1/1000 วินาที ค่าตัวเลขยิ่งสูงมากเท่าใดความเร็วยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

การกำหนดความเร็วชัตเตอร์จะขึ้นอยู่กับสภาพแสงและจุดประสงค์ในการถ่ายภาพเป็นสำคัญ ถ้าแสงมีความสว่างมากเช่นในตอนกลางวันช่วงเวลา 10.00 น. -14.00 น. ในวันที่ฟ้าสดใสไม่มีเมฆ หรือหมอกมาบังจะสามารถตั้งความเร็วชัตเตอร์ได้สูง เช่น 1/250 1/500 หรือ 1/1000 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ การกำหนดรูรับแสงด้วยซึ่งจะได้กล่าวถึงในหัวข้อถัดไป สำหรับผู้ที่เริ่มต้นถ่ายภาพควรตั้งความเร็วชัตเตอร์  สูงไว้ คือ ตั้งแต่ 1/125 ขึ้นไปจะช่วยป้องกันปัญหากล้องสั่นไหว จะส่งผลให้ภาพที่ได้พร่ามัว และการถ่ายภาพ วัตถุที่ไม่หยุดอยู่กับที่ เช่น การแข่งขันกีฬา ควรตั้งความเร็ว ชัตเตอร์ที่สูงด้วย เช่นกัน เพราะจะทำให้ ภาพ ที่ไห้หยุดนิ่ง (Stop action)

          3.3 การกำหนดค่ารูรับแสง

การกำหนดรูรับแสง เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติควบคู่กับการกำหนดความเร็วชัตเตอร์ เพราะเป็น ตัวกำหนดปริมาณของแสงที่มากระทบกับฟิล์ม ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของรูรับแสงโดยมีการ กำหนดค่าตั้งแต่กว้างสุด จนถึงแคบสุด โดยแทนค่าเป็นตัวเลข ยิ่งตัวเลขมากเท่าใดรูรับแสงยิ่งแคบลง

วิธีการเพิ่ม หรือลดรูรับแสงนั้นขึ้นอยู่กับสภาพแสง ค่าความไวแสงของฟิล์มและความเร็วชัตเตอร์ เป็นสำคัญ ยิ่งเปิดรูรับแสงแคบเท่าใดต้องปรับความเร็วชัตเตอร์ให้ต่ำลง เพื่อรักษาความสมดุลย์ของแสง การเปิดรูรับแสงนั้นจะส่งผลต่อภาพในเรื่องของระยะชัด (Depth of field) ของภาพ ในกรณีที่เปิดรูรับแสงกว้าง จะทำให้ภาพมีความชัดเฉพาะจุดหรือชัดตื้น ถ้าเปิดรูรับแสง ปานกลางถึงแคบสุดภาพ จะเพิ่มระยะชัดหรือมี ความชัดลึกมากขึ้น

ภาพแสดงค่าตัวเลขของรูรับแสง (Aperture) 

ภาพแสดงค่าตัวเลขของรูรับแสง (Aperture) 

  ภาพชัดตื้นเปิดรูรับแสง F 1.4 ความเร็วชัตเตอร์ 1/500

ภาพชัดลึก
เปิดรูรับแสง F 22 ความเร็วชัตเตอร์ 1/60

หลังจากที่ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความเร็วชัตเตอร์กับการเปิดรูรับแสงแล้วต้องทำความเข้าใจ เกี่ยวกับเรื่องการวัดแสงเพื่อให้ได้ภาพมีความสมดุลย์ของแสงและความอิ่มตัวของสี ความเร็วชัตเตอร์และรูรับ แสงต้องมีความสัมพันธ์กัน ถึงแม้ว่าในปัจจุบันกล้องถ่ายภาพส่วนใหญ่จะสามารถปรับสภาพของการรับแสง ของกล้องได้โดยอัตโนมัติก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ถ่ายภาพต้องทำความเข้าใจคือ ลักษณะของภาพที่ต้องการ อาจต้องการภาพที่มีความชัดลึก เช่น ภาพภูมิทัศน์ ภาพงานพิธีต่าง ๆ หรือภาพที่ต้องการให้มีลักษณะชัดตื้น เพื่อเน้นเฉพาะจุด เช่น การถ่ายภาพบุคคล การถ่ายภาพวัตถุ ต่าง ๆ หรือภาพที่ต้องการใช้ความเร็วชัตเตอร์ ที่สูงเพื่อหยุดภาพที่เคลื่อนไหวอย่างเร็ว หรือภาพที่ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้า            

การวัดแสง

ภาพที่วัดแสงได้ถูกต้อง หรือ Normal จะได้ภาพที่มีความเข้มของสีถูกต้อง เหมาะสม แต่ถ้าวัดแสง ผิดพลาดคือ ให้ฟิล์มรับแสงน้อยเกินไป หรือ Under  อาจเกิดจากเปิดรูรับแสงน้อยเกินไป หรือ ใช้ความเร็ว ชัตเตอร์เร็วเกินไป ภาพจะออกมามีโทนสีดำมาก หรือที่เรียกว่า ภาพมืด  ยิ่งผิดพลาดมากเท่าใดภาพยิ่ง มืดมากเท่านั้น ส่วนภาพที่รับแสงมากเกินไป หรือ Over มีสาเหตุจากใช้รูรับแสงกว้างเกินไป หรือความเร็วชัตเตอร์ช้าเกินไป ทำให้ภาพที่ได้มีสีขาวมาก หรือแสงจ้ามาก ทำให้ภาพขาดความสดใสไปมาก

ดังนั้น ก่อนการกดชัตเตอร์  ควรศึกษาเรื่องการวัดแสงให้ถูกต้อง ศึกษาคู่มือการใช้กล้องและฟิล์มให้ดี เพราะถ้าวัดแสงผิดพลาดจะเสียทั้งเวลา เงินทอง และโอกาสที่จะได้ภาพดีดีไปอย่างน่าเสียดาย

อ้างอิง http://filmaholics-th.blogspot.com/2014/05/blog-post_6096.html