การจัดองค์ประกอบภาพ

Composition = องค์ประกอบภาพ เรื่องพื้นฐานสุดๆ เกี่ยวกับการถ่ายภาพเลยค่ะ การจัดวางตำแหน่งหลักของภาพสามารถทำให้เกิดผลพวงทางความคิด ความรู้สึก ซึ่งหากวางในจุดที่เหมาะสมจะทำให้ภาพนั้นดูโดดเด่นสะดุดตา ซึ่งองค์ประกอบภาพที่ว่านี้มีหลายหลายรูปแบบให้ศึกษา

1.ทฤษฎีสามส่วน
หากมีเส้นใดๆ ก็ตามที่เริ่มจากด้านหนึ่งยาวไปจนสุดอีกด้านหนึ่งของภาพ ให้พยายามจัดวางเส้นดังกล่าวนั้นไว้บนเส้นแบ่งตามรูปด้านล่างค่ะ


ทฤษฎีสามส่วน

โดยทั่วไปคนส่วนมากเวลายกกล้องขึ้นเพื่อถ่ายภาพ มักจะวางเส้นตัดเหล่านี้ไว้ตรงกลาง ทำให้เกิดความรู้สึกเมื่อยามมองภาพว่าภาพนั้นถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน หรือเหมือนถูกพับให้มาบรรจบประกบพอดีกัน ไม่ได้เน้นส่วนใดให้ชัดเจน ทำให้ภาพขาดความน่าสนใจ ทฤษฎีที่ว่านี้จึงถูกคิดค้นขึ้นเพื่อเป็นแนวทางว่าเราควรจะวางเจ้าเส้นตัดเหล่านั้นไว้ตรงส่วนไหน แล้วจึงจะทำให้ภาพดูสะดุดตาน่าสนใจ
ตัวอย่างภาพที่ใช้ทฤษฎีสามส่วน

ในภาพนี้โมได้ตีเส้นขีดยาวสีขาวจากด้านซ้ายไปสุดไปจนถึงขวาสุด ซึ่งตรงนั้นคือเส้นขอบฟ้าเพื่อแบ่งให้เห็นได้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับทฤษฎีสามส่วน โดยภาพนี้อาจารย์เจี๊ยบผู้เป็นเจ้าของภาพได้แบ่งพื้นที่น้ำทะเลเป็น 1:3 ของภาพทั้งหมด และให้อีก 2 ส่วนที่เหลือเป็นพื้นที่ของท้องฟ้า

ภาพนี้แบ่งพื้นที่ด้านล่างซึ่งเป็นพื้นหญ้า 2 ส่วน ในขณะที่ท้องฟ้าถูกจัดให้มีพื้นที่ในภาพ 1 ส่วน

แต่หากวางเส้นขอบภาพไว้กลางภาพล่ะ


ลองถามตัวเองดูสิว่าเมื่อเรามองภาพนี้แล้วรู้สึกอย่างไร
ในการถ่ายภาพเส้นที่มีลักษณะลากยาวตัดผ่านภาพเช่นนี้ต้องระวังเรื่องสมดุลให้ดีนะคะ อย่าให้เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ดังเช่นภาพนี้


เรื่องทฤษฎีสามส่วนผ่านแล้ว แต่วางเส้นขอบฟ้าไม่ตรง ทำให้ภาพขาดสมดุล เอียงอย่างไม่มีเหตุผล
เอียงอย่างสมควรถูกตำหนิ

2. จุดตัดเก้าช่อง
เมื่อผ่านทฤษฎีสามส่วนมาแล้ว ทีนี้เราจะมาลากเส้นอีก 2 เส้นเป็นแนวตั้งตัดผ่านเส้นแนวนอน ซึ่งจะทำให้แบ่งพื้นที่ภาพออกเป็น 9 ช่อง โดยมีจุดตัดของเส้นทั้งหมด 4 จุด ตำแหน่งเหล่านี้เหมาะสมสำหรับการวางวัตถุหรือแบบเพื่อเน้นให้เป็นจุดเด่นจุดหลัก ไม่ใช่แต่เพียงวางอยู่ตรงกลางซึ่งจะทำให้ภาพดูน่าเบื่อ ซ้ำซาก อีกทั้งนอกเหนือจากตำแหน่งจุดตั้งทั้ง 4 แล้ว ยังมีพื้นที่เหลือไว้เพื่อไม่ให้รู้สึกอึดอัดเวลามองภาพ และยังช่วยบอกรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับภาพได้อีกด้วย


จุดตัดเก้าช่อง

ตัวอย่างภาพที่วางจุดหลักไว้ในตำแหน่งจุดตัดเก้าช่อง

3. เส้นนำสายตา
เส้นนำสายตามีหลายลักษณะค่ะ ทั้งเส้นตรง โค้ง รูปตัวเอส เป็นการสร้างมิติและสามารถบอกลักษณะโครงสร้างของภาพอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนที่นำสายตาไปยังจุดเด่นหรือจุดสนใจของภาพนั้นๆ และอาจเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆ ในภาพได้ด้วย

ตัวอย่างภาพ



ข้อควรระวังเกี่ยวกับการนำเส้นสายตามาใช้ในการจัดองค์ประกอบภาพ คืออย่าให้มีวัตถุหรือฉากหน้าที่เป็นส่วนเกินดึงสายตาไปจากจุดหลักของภาพ เพราะจะทำให้การมองภาพสะดุดลงที่วัตถุนั้น ขาดเอกภาพ เส้นที่เราวางไว้เพื่อไปยังจุดหลักจะกลายเป็นองค์ประกอบรองไม่โดดเด่น
ตัวอย่างภาพ

4. กรอบภาพ
เป็นการนำวัสดุต่างๆ มาจัดวางให้ฉากหน้า หรือเป็นส่วนประกอบล้อมจุดเด่นเพื่อทำให้ภาพดูมีมิติ มีความลึก หรือทำให้สายตาพุ่งสู่จุดสนใจ หรือเพื่อลดพื้นที่ว่าง ทำให้ภาพกระชับขึ้น

ตัวอย่างภาพ


5. ลวดลาย ( Pattern )
เป็นการนำเสนอลักษณะ รูปทรง หรือเส้นที่มีลักษณะคล้ายๆ กัน วางเป็นกลุ่มเพื่อเป็นรูบแบบที่ซ้ำซ้อน

ตัวอย่างภาพ


อ้างอิง http://pantip.com/topic/30992314